บันทึกห้องเรียนครูรุ่นใหม่: การสร้างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์

บันทึกห้องเรียนครูรุ่นใหม่: การสร้างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์

Wisanugorn Nam  


ความเดิมตอนที่แล้วนานมากๆ หลังจากที่ร่วมกัน conceptaulize เรื่อง ระบบนิเวศ กันไปแล้ว วันนี้จึงให้เสนอแนวคิดที่มีอยู่เกี่ยวกับระบบนิเวศของแต่ละคนในรูปแบบของการวาดภาพหรือใครจะเขียนอะไรด้วยก็แล้วแต่ 

หนึ่ง เพื่อเป็นการประเมินว่าพวกเขาเชื่อมโยงแนวคิดที่มีอยู่ไปสู่สถานการณ์หรือปรากฎการณ์อย่างไร และครูควรจะเสริมส่งสิ่งใด 

สอง ด้วยลักษณะพิเศษของชั้นเรียนที่มีเพื่อนนักเรียนกลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษในการอ่าน การเขียน ได้มีช่องทางที่เหมาะสมในการส่งผ่านและสื่อสารแนวคิดออกมาได้ 

และสาม เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้โน้มน้าวเพื่อนๆ ด้วยแนวคิดของตนเอง และสามารถป้องกันแนวคิดของตนจากแนวคิดอื่นๆ ได้ เรามีหลากหลายช่องทางที่จะเข้าใจแนวคิดของนักเรียนที่เขาแสดงตัวแทน (representation) ออกมา 



งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาจำนวนหนึ่งชี้ความจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนแสดงตัวแทนความคิดที่มากกว่าหนึ่งประเภท ต่อหนึ่งสถานการณ์ที่นักเรียนสนใจอยู่ เพราจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สอนเองที่จะทำความเข้าใจแนวความคิดของผู้เรียน และอีกประการผู้เรียนบางคนอาจจะมีข้อจำกัด มีความยากลำบากที่จะแสดงผ่านตัวแทนความคิดประเภทใดประเภทหนึ่ง (ดังที่จั่วหัวไว้แล้วนั้น) นั่นคือ เราอาจทำความเข้าใจแนวคิดของผู้เรียน (concept) ต่อปรากฎการณ์ (phenomenon) ผ่านตัวแทนความคิด (mental representation) แน่นอนว่าเมื่อได้ดูชิ้นงานของผู้เรียน พบว่าพวกเขามีแนวคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงแตกต่างไปจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วย (Scientific conception) เมื่อมาถึงตรงนี้ด้วยเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ก็จะบอกเราว่าควรปรับเปลี่ยนแนวคิดผู้เรียนที่เป็นอย่างอื่น (Alternative conception) ให้เป็นแนวคิดวิทยาศาสตร์เสีย และคำถามคือทำอย่างไร? 

ก่อนอื่นเราน่าจะยอมรับได้ว่าการนำข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือมากองต่อหน้าผู้เรียน แล้วพวกเขาปรับเปลี่ยนแนวคิดโดยดุษฎีนั้นเป็นเรื่องแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งที่อยู่ลึกกว่านั้นในนาม ความเชื่อ (beliefs) ที่จะคอยกำหนดท่าทีต่อข้อเท็จจริงที่กำลังเผชิญอยู่ให้เป็นไปในลักษณะต่างๆ กระบวนการของการปรับเปลี่ยนเรียนรู้จึงไม่ได้เป็นเส้นตรง และไปข้างหน้าถ่ายเดียว 

ยกตัวอย่างไม่นานมานี้ มีนักเรียนมัธยมปลายคนหนึ่งอธิบายการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ว่า เมื่อเวลาสายันห์คล้อยเคลื่อนเลื่อนมา ดวงอาทิตย์จะลับลาด้วยการตกลงไปในน้ำ ทั้งๆที่ เขาผ่านรายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศมาแล้ว เเละในรายวิชานั้นผู้สอนได้นำเสนอข้อเท็จจริง และหลักฐานประกอบจำนวนหนึ่ง เมื่อซักถามต่อไปก็พบว่าเขาก็จดจำสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาได้ จะเห็นได้ว่าความเชื่อมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างควรใส่ใจ 

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาที่สนใจประเด็นนี้ ชวนให้มองย้อนไล่เลี่ยงถึงลำดับการประวัติศาสตร์การพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเส้นทางของการต่อสู้ ต่อรองทางสังคม การสร้างข้อโต้แย้งและนำไปสู่การถกเเถลงอย่างแพร่หลาย หลายครั้งที่หลักฐานที่แน่นหนากลับพ่ายแพ้ต่อความเชื่อที่เหนียวแน่น เช่น แนวคิดเกี่ยวกับโลกและระบบสุริยะ แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ เป็นต้น ผู้เรียนก็จึงควรได้รับโอกาสเช่นนั้น คือ พวกเขาได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับระบบนิเวศขึ้นมาด้วยทั้งกระบวนการเชิงปัจเจก (individaul) และเชิงสังคม (collective) ผ่านการเจรจาต่อรองความหมายกับกลุ่มเพื่อนด้วย

ที่มา 
https://web.facebook.com/wisanugorn/posts/619326498400968

ครูปล่อยของ | พฤษภาคม 2561

ครูปล่อยของ | พฤษภาคม 2561


และแล้วก็ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว สำหรับช่วงเวลาปิดเทอมที่บรรดาครูทั้งหลายต่างเฝ้ารอคอยตลอดทั้งปี หลายคนใช้เวลานี้ในการหยุดพักผ่อนหลังจากที่ต้องสู้รบกันมาทั้งปี หลายคนยังคงทำงานไม่มีวันหยุด หลายคนเตรียมการสอนสำหรับเทอมใหม่ที่กำลังจะมาถึง พลเรียนขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนครูทุกๆ คนครับ



หลังจากที่คอลัมน์ครูปล่อยของ ได้ห่างหายกันไปในช่วงปิดภาคเรียน ในวันนี้ เพียงเดือนเดียว (จริงๆ แล้วแค่ครึ่งเดือนเสียด้วยซ้ำ) ของการเปิดเทอมเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ หลังจากที่ครูทั้งหลายอัดอั้นจากการปล่อยของกันมานาน คราวนี้ครูปล่อยของประจำเดือนพฤษภาคม 2561 จึงพาเหรดยกขบวนกันมาปล่อยของกันอย่างเต็มที่ อัดแน่นจริงๆ ครับ

และสำหรับใครที่ยังไม่รู้จักกลุ่ม "ครูปล่อยของ (เพื่อนพลเรียน)" ก็ขอเชื้อเชิญมาร่วมกันกับพวกเราได้ที่นี่ครับ คลิก

ว่าแล้วก็ไม่รอช้า มาดูกันดีกว่าว่าเปิดเทอมนี้ คุณครูทั้งหลายมีของอะไรมาปล่อยกันบ้าง ไปดูกันเลย (เยอะมากนะขอบอก)




การศึกษาอิสระ 
Independent study 
by Autthapon Prapasanobol 
https://goo.gl/5YZg4N 





IS 208 
by Ekkach Aim 
https://goo.gl/GQGFaK 





เปิดพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนในวิชาIS with ครูมิ้นท์ 
by Paradee Lerswarit 
https://goo.gl/ZJ4QFe 















ห้องพักครู 
ห้องเรียนครูเติร์ก 
by Turk Pakdeesan 
https://goo.gl/FxNtXd 






บันทึกสิ่งที่มาพร้อมกาล ณ ห้องเรียนครูหมี 
by Turk Pakdeesan 
https://goo.gl/Kv1brb 


เรื่องเล่าวันเปิดเทอม by ครูหมี 
by Turk Pakdeesan 
https://goo.gl/hx9wpX 




ปฐมบทก่อการครูในชั้นเรียน 
by Saknarin Yawichai 
https://goo.gl/K4C65W 




ใครๆ ก็เป็นหัวหน้าห้องได้ 
by Nanda Jaiyasara 
https://goo.gl/2gWiVa 




สมุดควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเด็กๆ 
by Nanda Jaiyasara 
https://goo.gl/fSbsZB 






กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
อะไรอยู่ในกล่อง 
by Nanda Jaiyasara 
https://goo.gl/CCpSKf 





วิชาชีวิตบ้านกาญจนาฯ 
by Thicha Nanakorn 
https://goo.gl/Tz9G5F 





เราแตกต่างเหมือนกันไหม... 
by LittleBow Bowling 
https://goo.gl/L594MM 





วงล้อชีวิตคิดพัฒนา 
by Natthaphong Anuson 
https://goo.gl/Yt2sK5 








เติมพลังใจ 
by LittleBow Bowling 
https://goo.gl/TygH46 








ค่ายผู้นำ 
by Natthaphong Anuson 
https://goo.gl/u5bCU9 





รับฟังอย่างเข้าใจ 
by LittleBow Bowling 
https://goo.gl/QHgtcV
 




ครูลองของ 
by จุ๊บแจงแกงไก่ เดอะแรปเปอร์ 
https://goo.gl/8Ffbmj 








อิสลามศึกษา 
เกมส์ : หูดีได้ หูร้ายเสีย" 
by Nur-aseeyah Mahama 
https://goo.gl/5qc1iK 









วิทยาศาสตร์ 
ฟิสิกส์ ม.6 
by Tana Aeambumrungsub 
https://goo.gl/PUa34p 








ผลรวมของแรง 
by Tana Aeambumrungsub 
https://goo.gl/2E5R3G 





ฟิสิกส์กลางสนามฟุตบอล 
by Haophys Kittipong 
https://goo.gl/1CTNSB 








แนะนำระบบนิเวศ 
by Wisanugorn Nam 
https://goo.gl/a58vBn 








มหากาพย์ “กำเนิดจักรวาล” 
by Nuch Wara Puranan 
https://goo.gl/ybZT8g 



ฟิสิกส์ : วงล้อชีวิต 
by Tana Aeambumrungsub 
https://goo.gl/isQ7mi 












การศึกษาปฐมวัย 
อะไรอยู่ในหม้อ 
by Sanya Makarin 
https://goo.gl/E7MYeJ 






ศิลปะ 
Nature Mandala 
พุทธศิลป์ และการเรียนรู้ 
by Sanya Makarin 
https://goo.gl/FBVMxr  




Natural Typography อักษรศิลป์จากดินถึงยอด 
by Sanya Makarin 
https://goo.gl/Ym3J8W 








ภาษาต่างประเทศ 
วิญญาณครูฝรั่งเข้าสิง 
by Suwarat Boonyarattapan 
https://goo.gl/hx9wpX 






สังคมศึกษา 
วัฒนธรรมน้ำ: สงกรานต์นี้เป็นของใคร ? 
by Autthapon Prapasanobol 
https://goo.gl/bMTpk4  





การประเมินหลักฐาน ความรู้สึก พื้นที่แลกเปลี่ยน 
by Thanagorn Soisep 
https://goo.gl/wXxTnF 







พุทธประวัติกับ Moba games 
by Thanagorn Soisep 
https://goo.gl/P2hjFS 








งานชุมนุม(มาร)ศาสนา 
by Nanz Jirapha 
https://goo.gl/fosvvi 





ระบายปัญหา 
by Thanagorn Soisep 
https://goo.gl/RXUYnV 








วัฒนธรรมข้าวปลาอาหารของคนอาเซียน 
by Autthapon Prapasanobol 
https://goo.gl/WGnbGZ 




“เห็นอะไร” มากกว่า “คืออะไร” 
by Thanagorn Soisep 
https://goo.gl/t2KyFe 





ลูกอมอินเดีย 
by Sanya Makarin 
https://goo.gl/uNiJFh 





พลเมืองรู้เท่าทันสื่อ 
by Autthapon Prapasanobol 
https://goo.gl/H9YC5x 





สอนศาสนาท่ามกลางความหลากหลาย 
by Thanagorn Soisep 
https://goo.gl/vry5aV 








ศาสนาคืออะไร 
by Autthapon Prapasanobol 
https://goo.gl/8SiACd 








นิยามความหมายของศาสนา 
by Nanz Jirapha 
https://goo.gl/sVcUQe 





ระบบเศรษฐกิจ 
by Pinyo Kheeya 
https://goo.gl/dj5xMW 




ระบบเศรษฐกิจ 
by Thichanon Chumwangwapee 
https://goo.gl/hJMxTS

Review : Critical Pedagogy and Young Children's World การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์กับโลกของเด็กเล็ก

Review : Critical Pedagogy and Young Children's World 
การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์กับโลกของเด็กเล็ก 
Elizabeth Quintero 


อรรถพล ประภาสโนบล 
จากหนังสือ Critical Pedagogy :Where Are We Now ? 

การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy) เป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าสามารถนำไปใช้ได้กับเด็กวัยโตหรือวัยผู้ใหญ่ แต่เอลิซาเบธ ควินเทโร (Elizabeth Quintero) เธอกลับไม่คิดเช่นนั้น และเชื่อว่าการเรียนการสอนเชิงวิพากษ์สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย  

เอลิซาเบธ ควินเทโร (2007) เธอทำงานกับครอบครัวของเด็กอพยพในเขตชานเมือง เธอสนใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของความเชื่อในครอบครัวอพยพที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก และประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กเมื่อต้องอยู่ในโรงเรียน 




บทความของเธอเริ่มด้วยการกล่าวถึงการเรียนการสอนเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy) และการวิพากษ์เป็น (Critical literacy) ว่ามันคือการอนุญาตให้คนทุกวัยและทุกภูมิหลังชนชั้นบอกเล่าเรื่องราว (stories) ของตนเอง ซึ่งการบอกเล่าเรื่องราวของตนเองคือการความละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอยู่รอดของชีวิต มีความซับซ้อนในเชิงการอยู่รอดทางร่ายกาย การอยู่รอดทางอารมณ์ และที่สำคัญคือการอยู่รอดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่อาจจะเป็นเส้นทางสำคัญที่จะค้นหาถึงการอยู่รอดของตัวเอง ดังนั้นจึงทำให้เธอได้วิพากษ์ถึงการศึกษากับเด็กเล็กไว้ 3 ประการ 

ประการแรก : เรื่องราว (stories) 

เมื่อเด็กเอ่ยถึงเรื่องราวของตน เธอได้ตั้งคำถามว่าหลักสูตรแกนกลางมีที่ว่างหรือพื้นที่ให้กับเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่แตกต่างจากเรื่องราวของหลักสูตรแกนกลางหรือไม่ เรื่องที่ยิ่งใหญ่คืออะไร และใครเป็นคนตัดสินให้เข้าไปอยู่ในหลักสูตร เพราะเด็กคือผู้ประพันธ์หรือผู้แต่งเรื่องราวในชีวิตของตนเอง ซึ่งเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องราวแฟนตาซีในหลักสูตรที่ให้เด็กจดจำลักษณะพ่อมดเป็นแม่แบบ เป็นไปได้หรือไม่ที่การอ่านหนังสือควรทำให้เด็กรู้จักผู้คนอย่างหลากหลายในชีวิต 

ประการที่สอง : การวิพากษ์เป็น (Critical Literacy) 

เป็นกระบวนการของการสร้างและการวิพากษ์โดยใช้ภาษา (การออกเสียงและการเขียน) ซึ่งมีนัยยะความหมายของประสบการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองและผู้อื่น สำหรับเด็กเล็กแล้วสามารถนำเอาเรื่องราว การระบายสี และการเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะรูปภาพ และสามารถขยายข้อมูลด้วยวิดีโอเกมหรือฟิล์ม เพื่อให้เกิดการโต้เถียงและตั้งคำถามกับข้อมูล 

ในการศึกษาปฐมวัย ตัวเธอเล่าว่าเธอได้ท้าทายวัฒนธรรมในระบบการศึกษาที่จะต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์และการออกเสียง อ่านเรื่องราว โดยใช้มาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง เธอพยายามทำให้เด็กสามารถต่อรองและวิพากษ์เกี่ยวกับเรื่องราวที่ถูกให้อ่านโดยหลักสูตรแกนลาง 


เธอเล่าว่า ครูและนักเรียนสามารถร่วมกันใช้เรื่องราวพหุวัฒนธรรมและการวิพากษ์ในฐานะที่เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่องราวของคนหลากหลายกลุ่ม และการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียน ต้องเป็นกระบวนของการอ่านประวัติศาสตร์ (อ่านโลก) และสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นด้วย 


นอกจากนี้ครูควรสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้สู่คำถาม และสนับสนุนให้นักเรียนได้พิจารณาถึงจุดแข็งของตัวนักเรียนและครอบครัว และพิจารณาอุปสรรคในทุกๆ วัน ผนวกกับการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งจะก่อให้ให้เกิดเป็นบริบทที่ส่งเสริมให้ได้กระทำการเปลี่ยนแปลงร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก ครู และสมาชิกชุมชน  


ประการที่สุดท้าย : การวิพากษ์เป็นกับเด็กเล็ก (Critical Literacy and Young Children) 
ข้อแรก เธอเห็นว่าควรสนับสนุนความหลากหลายทางภาษาและยอมรับความหลากหลายของแหล่งที่มาของความรู้ อัตลักษณ์ ภาษา และเปลี่ยนรูปแบบใหม่ของความสัมพันธ์ รู้จักและเคารพนักเรียนในทุกภูมิหลัง 

ข้อสอง ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ควรสนับสนุนให้เด็กมีทางเลือกกิจกรรมและเปิดโอกาสให้วิพากษ์ผ่านการใช้สถานการณ์ คำถาม และสัญลักษณ์ วิธีการนี้เรียกว่า “วิธีการศึกษาแบบตั้งปัญหา (Problem posing method)” ซึ่งถูกพัฒนาโดยเปาโล แฟร์ ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฎีเชิงวิพากษ์ของสำนัก Frankfurt ที่ใช้ในการศึกษาของผู้ใหญ่ แต่จริงแล้ววิธีการนี้สามารถนำมาใช้กับนักเรียนทุกอายุ ทุกประสบการณ์หรือทุกความสามารถ โดยวางอยู่บนฐานการเรียนรู้แบบใหม่ บนประสบการณ์ของตัวเอง ที่มีเส้นทางสนับสนุนการสะท้อนอย่างวิพากษ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วม หากกล่าวในมุมของการสอนเด็กเล็กนั้น สามารถทำผ่านการเล่นโดยใช้จินตนาการ สัญลักษณ์ และการกระทำ 


ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนเด็กอนุบาล ครูใช้กิจกรรมอ่านบทร้อยกรอง “ฉันมาจากที่ไหน” หลังจากอ่านจบครูให้นักเรียนเขียนเกี่ยวกับตัวเองว่ามากจากที่ไหน  ซึ่งเป็นการนำมาสู่การสำรวจภูมิหลังทางชนชั้นของนักเรียนดังเช่นคำตอบของนักเรียนที่ว่า


“ฉันมาจากถนนที่แออัด”

“ฉันมาจากร้านอาหารฟาสฟูดส์”  

หรือการที่ให้นักเรียนได้ลองเอ่ยภาษาของตัวเอง แทนภาษาจากหลักสูตรแกนกลาง 


สุดท้าย เธอยกตัวอย่างเรื่องที่มีความหวังสำหรับเธอ (ผู้เขียน) เมื่อเธอเคยสังเกตเห็นเด็กชายตัวเล็กคนหนึ่งอยู่บนรถไฟที่เต็มไปด้วยผู้คนที่อัดแน่น เธอเล่าว่า 


“ฉันสังเกตเห็นเด็กและพ่อของเขาในอยู่บนรถไฟร่วมกัน บนรถไฟมีผู้คนแออัดและไม่พอสำหรับเด็ก ดังนั้นพ่อของเขาจึงยืนอยู่หน้าเขา เขาให้เด็กนั่งลงพร้อมกับยื่นกระดาษและดินสอนสำหรับวาดรูปให้ เด็กมองไปรอบๆ และลากเส้นวาดรูปจนเสร็จ พ่อถามเขาว่า ‘ทำไมวาดตัวพ่อเป็นผู้ขับรถไฟล่ะ ทั้งที่พ่อยืนอยู่ไม่ได้นั่งเลย’ เด็กคนนั้นตอบว่า ‘ไม่ใช่รถไฟขบวนนี้ แต่เป็นรถไฟที่วาดเพื่อให้ทุกคนได้นั่ง’ นี่คือตัวอย่างสำคัญมากสำหรับการวิพากษ์ผ่านจินตนาการและความเป็นศิลปะ” 


เอกสารอ้างอิง 

Elizabeth Quintero. (2007). Critical Pedagogy and Young Children's World. in McLaren, P. Editor and Kincheloe, J. L. Editor. (Eds.), Critical Pedagogy :Where Are We Now?. (101-108). New York: Peter Lang.