Review : Critical Pedagogy and Young Children's World การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์กับโลกของเด็กเล็ก

Review : Critical Pedagogy and Young Children's World 
การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์กับโลกของเด็กเล็ก 
Elizabeth Quintero 


อรรถพล ประภาสโนบล 
จากหนังสือ Critical Pedagogy :Where Are We Now ? 

การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy) เป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าสามารถนำไปใช้ได้กับเด็กวัยโตหรือวัยผู้ใหญ่ แต่เอลิซาเบธ ควินเทโร (Elizabeth Quintero) เธอกลับไม่คิดเช่นนั้น และเชื่อว่าการเรียนการสอนเชิงวิพากษ์สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย  

เอลิซาเบธ ควินเทโร (2007) เธอทำงานกับครอบครัวของเด็กอพยพในเขตชานเมือง เธอสนใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของความเชื่อในครอบครัวอพยพที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก และประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กเมื่อต้องอยู่ในโรงเรียน 




บทความของเธอเริ่มด้วยการกล่าวถึงการเรียนการสอนเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy) และการวิพากษ์เป็น (Critical literacy) ว่ามันคือการอนุญาตให้คนทุกวัยและทุกภูมิหลังชนชั้นบอกเล่าเรื่องราว (stories) ของตนเอง ซึ่งการบอกเล่าเรื่องราวของตนเองคือการความละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอยู่รอดของชีวิต มีความซับซ้อนในเชิงการอยู่รอดทางร่ายกาย การอยู่รอดทางอารมณ์ และที่สำคัญคือการอยู่รอดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่อาจจะเป็นเส้นทางสำคัญที่จะค้นหาถึงการอยู่รอดของตัวเอง ดังนั้นจึงทำให้เธอได้วิพากษ์ถึงการศึกษากับเด็กเล็กไว้ 3 ประการ 

ประการแรก : เรื่องราว (stories) 

เมื่อเด็กเอ่ยถึงเรื่องราวของตน เธอได้ตั้งคำถามว่าหลักสูตรแกนกลางมีที่ว่างหรือพื้นที่ให้กับเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่แตกต่างจากเรื่องราวของหลักสูตรแกนกลางหรือไม่ เรื่องที่ยิ่งใหญ่คืออะไร และใครเป็นคนตัดสินให้เข้าไปอยู่ในหลักสูตร เพราะเด็กคือผู้ประพันธ์หรือผู้แต่งเรื่องราวในชีวิตของตนเอง ซึ่งเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องราวแฟนตาซีในหลักสูตรที่ให้เด็กจดจำลักษณะพ่อมดเป็นแม่แบบ เป็นไปได้หรือไม่ที่การอ่านหนังสือควรทำให้เด็กรู้จักผู้คนอย่างหลากหลายในชีวิต 

ประการที่สอง : การวิพากษ์เป็น (Critical Literacy) 

เป็นกระบวนการของการสร้างและการวิพากษ์โดยใช้ภาษา (การออกเสียงและการเขียน) ซึ่งมีนัยยะความหมายของประสบการณ์ ปฏิสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองและผู้อื่น สำหรับเด็กเล็กแล้วสามารถนำเอาเรื่องราว การระบายสี และการเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะรูปภาพ และสามารถขยายข้อมูลด้วยวิดีโอเกมหรือฟิล์ม เพื่อให้เกิดการโต้เถียงและตั้งคำถามกับข้อมูล 

ในการศึกษาปฐมวัย ตัวเธอเล่าว่าเธอได้ท้าทายวัฒนธรรมในระบบการศึกษาที่จะต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์และการออกเสียง อ่านเรื่องราว โดยใช้มาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง เธอพยายามทำให้เด็กสามารถต่อรองและวิพากษ์เกี่ยวกับเรื่องราวที่ถูกให้อ่านโดยหลักสูตรแกนลาง 


เธอเล่าว่า ครูและนักเรียนสามารถร่วมกันใช้เรื่องราวพหุวัฒนธรรมและการวิพากษ์ในฐานะที่เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่องราวของคนหลากหลายกลุ่ม และการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียน ต้องเป็นกระบวนของการอ่านประวัติศาสตร์ (อ่านโลก) และสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นด้วย 


นอกจากนี้ครูควรสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้สู่คำถาม และสนับสนุนให้นักเรียนได้พิจารณาถึงจุดแข็งของตัวนักเรียนและครอบครัว และพิจารณาอุปสรรคในทุกๆ วัน ผนวกกับการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งจะก่อให้ให้เกิดเป็นบริบทที่ส่งเสริมให้ได้กระทำการเปลี่ยนแปลงร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก ครู และสมาชิกชุมชน  


ประการที่สุดท้าย : การวิพากษ์เป็นกับเด็กเล็ก (Critical Literacy and Young Children) 
ข้อแรก เธอเห็นว่าควรสนับสนุนความหลากหลายทางภาษาและยอมรับความหลากหลายของแหล่งที่มาของความรู้ อัตลักษณ์ ภาษา และเปลี่ยนรูปแบบใหม่ของความสัมพันธ์ รู้จักและเคารพนักเรียนในทุกภูมิหลัง 

ข้อสอง ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ควรสนับสนุนให้เด็กมีทางเลือกกิจกรรมและเปิดโอกาสให้วิพากษ์ผ่านการใช้สถานการณ์ คำถาม และสัญลักษณ์ วิธีการนี้เรียกว่า “วิธีการศึกษาแบบตั้งปัญหา (Problem posing method)” ซึ่งถูกพัฒนาโดยเปาโล แฟร์ ซึ่งมีรากฐานมาจากทฤษฎีเชิงวิพากษ์ของสำนัก Frankfurt ที่ใช้ในการศึกษาของผู้ใหญ่ แต่จริงแล้ววิธีการนี้สามารถนำมาใช้กับนักเรียนทุกอายุ ทุกประสบการณ์หรือทุกความสามารถ โดยวางอยู่บนฐานการเรียนรู้แบบใหม่ บนประสบการณ์ของตัวเอง ที่มีเส้นทางสนับสนุนการสะท้อนอย่างวิพากษ์และส่งเสริมการมีส่วนร่วม หากกล่าวในมุมของการสอนเด็กเล็กนั้น สามารถทำผ่านการเล่นโดยใช้จินตนาการ สัญลักษณ์ และการกระทำ 


ยกตัวอย่างเช่น ในห้องเรียนเด็กอนุบาล ครูใช้กิจกรรมอ่านบทร้อยกรอง “ฉันมาจากที่ไหน” หลังจากอ่านจบครูให้นักเรียนเขียนเกี่ยวกับตัวเองว่ามากจากที่ไหน  ซึ่งเป็นการนำมาสู่การสำรวจภูมิหลังทางชนชั้นของนักเรียนดังเช่นคำตอบของนักเรียนที่ว่า


“ฉันมาจากถนนที่แออัด”

“ฉันมาจากร้านอาหารฟาสฟูดส์”  

หรือการที่ให้นักเรียนได้ลองเอ่ยภาษาของตัวเอง แทนภาษาจากหลักสูตรแกนกลาง 


สุดท้าย เธอยกตัวอย่างเรื่องที่มีความหวังสำหรับเธอ (ผู้เขียน) เมื่อเธอเคยสังเกตเห็นเด็กชายตัวเล็กคนหนึ่งอยู่บนรถไฟที่เต็มไปด้วยผู้คนที่อัดแน่น เธอเล่าว่า 


“ฉันสังเกตเห็นเด็กและพ่อของเขาในอยู่บนรถไฟร่วมกัน บนรถไฟมีผู้คนแออัดและไม่พอสำหรับเด็ก ดังนั้นพ่อของเขาจึงยืนอยู่หน้าเขา เขาให้เด็กนั่งลงพร้อมกับยื่นกระดาษและดินสอนสำหรับวาดรูปให้ เด็กมองไปรอบๆ และลากเส้นวาดรูปจนเสร็จ พ่อถามเขาว่า ‘ทำไมวาดตัวพ่อเป็นผู้ขับรถไฟล่ะ ทั้งที่พ่อยืนอยู่ไม่ได้นั่งเลย’ เด็กคนนั้นตอบว่า ‘ไม่ใช่รถไฟขบวนนี้ แต่เป็นรถไฟที่วาดเพื่อให้ทุกคนได้นั่ง’ นี่คือตัวอย่างสำคัญมากสำหรับการวิพากษ์ผ่านจินตนาการและความเป็นศิลปะ” 


เอกสารอ้างอิง 

Elizabeth Quintero. (2007). Critical Pedagogy and Young Children's World. in McLaren, P. Editor and Kincheloe, J. L. Editor. (Eds.), Critical Pedagogy :Where Are We Now?. (101-108). New York: Peter Lang.