คะวะยะ พลเรียน
“…การศึกษาเกือบทั้งหมด
มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองอย่างหนึ่ง กล่าวคือ เป็นสิ่งที่มุ่งส่งเสริมกำลังฐานะของชนบางกลุ่ม
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเชื้อชาติหรือศาสนา หรือแม้แต่กลุ่มสังคม
ในการแข่งขันกับชนกลุ่มอื่นๆ มูลเหตุจูงใจเช่นว่านี้เป็นส่วนสำคัญที่กำหนดลงไปว่า
จะสอนวิชาอะไรกันบ้าง จะให้ความรู้ในเรื่องอะไร ไม่ให้รู้ในเรื่องอะไร ตลอดจนตัดสินว่า
นักเรียนควรจะได้รับการถ่ายทอดอุปนิสัยใจคอเช่นไร...”
(Principles
of Social Reconstruction, 1916)
โรงเรียนในอดีต (หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน)
มักจะมีการคัดเลือกผู้เรียนเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนของรัฐ เช่น
การส่งลูกท่านหลานเธอไปเรียนในโรงเรียนที่ชื่อเสียงหรือการไปเรียนที่ต่างประเทศ
แม้กระทั่งตัวสังคมไทยมักจะคิดว่าการศึกษาเป็นเรื่องของผู้ชายเท่านั้น
ซึ่งสิ่งที่ต้องการจะสื่อก็คือว่า ในสังคมใดที่มีการแบ่งแยกชนชั้น
การเข้ารับการศึกษาก็จะไม่มีความเท่าเทียมกัน
ไม่นับถือในความสามารถหรือคุณภาพในตัวผู้ที่จะรับการเข้าการศึกษาแต่ก็จะไปดูที่ฐานะทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า
เช่น ลูกหลานคนร่ำรวยก็จะคิดว่าตนเองนั้นดีกว่า เหนือกว่ากว่าลูกหลานคนยากจน
และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็คือลูกหลานคนยากจนก็จะคิดว่าตนเองนั้นด้อยค่ากว่าลูกหลานคนร่ำรวย
ซึ่งเป็นการสร้างความคิดใหม่ ความเชื่อใหม่ในหมู่คนยากจน
ดังนั้นการศึกษาที่ดีก็ควรจะทำให้พวกเขาเกิดความไม่พอใจหรือความอยุติธรรมที่ตนเองนั้นตกเป็นเหยื่อทางสังคมอยู่
เมื่อมีการแบ่งแยกชนชั้น การศึกษาก็ย่อมมีปัญหาที่ความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
คือ
การสร้างความยิ่งใหญ่ในหมู่ผู้มีฐานะและการสร้างวาทกรรมอย่างไร้เหตุผลในหมู่ผู้ยากจน
การสอนคือการเลือกสถานการณ์ที่ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้อย่างง่ายขึ้น
มีการวางและจัดสรรตำแหน่งอย่างแน่นอนและมีเงื่อนไข
ตัวผู้เรียนเองก็จะต้องผ่านการทดสอบเพื่อที่จะเลื่อนขั้นหรือไปสู่ระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งโรงเรียนเองก็จะต้องจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่ทำให้สามารถเลื่อนขั้นได้
การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไร้เหตุผลเพราะโรงเรียนไม่ได้จัดการเลื่อนขั้นหรือระดับชั้นที่ไม่ได้เลือกสรรจากความสามารถและคุณภาพของตัวผู้เรียน
นั้นก็แสดงให้เห็นถึงการปรากฏตัวของชนชั้นที่ถูกกำหนดขึ้นโดยตัวโรงเรียนเอง โดยที่ไม่ได้ดูจากความสามารถหรือคุณภาพของตัวผู้เรียนโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้ให้เสรีภาพหรือคุณภาพทางการศึกษาแต่อย่างใด
เพราะโรงเรียนต้องการจะสอนให้บุคคลปรับตัวเข้ากับกรอบหรือกฎเกณฑ์อันเป็นมาตรฐานในการควบคุมของสังคม
(รัฐ) ทำให้บทบาทของการศึกษาเป็นเครื่องมืออำนาจรัฐไปโดยปริยาย
โรงเรียนก็คงเปรียบเสมือนกับช่องคลอดที่มีสามารถในการตั้งครรภ์ได้
และตัวผู้เรียนเองก็เปรียบเสมือนกับตัวอสุจิที่ต้องแหวกว่ายต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ
ทั้งผู้ที่มีความแข็งแกร่งมากกว่า ทั้งความแข็งแกร่งทางฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ
การศึกษา ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาที่มากกว่าด้วยเหตุผลต่างๆ
แม้กระทั่งชนชั้นทางสังคมที่ทำให้มีการศึกษาได้ง่ายกว่า
เมื่อมีโอกาสเข้าไปในช่องคลอดแล้ว โรงเรียนก็จะทำการผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆ
ผลิตชุดความรู้ต่างๆ ทำให้ตัวผู้เรียนมีความคิดต่างๆนานา แต่ที่สำคัญก็คือสร้างอุปนิสัยใจคอ
สร้างกระบวนการทางความคิดต่างๆ เพื่อทำให้สะดวกต่อการปกครองหรือการครอบงำของรัฐ
โดยอาศัยระยะเวลาแล้วแต่ตามศักยภาพของโรงเรียนหรือตัวผู้เรียนเองซึ่งก็มีความแตกต่างกัน
(โดยระยะเวลาตามครรภ์ผู้หญิงไทยก็ประมาณ 9 – 12 ปี) และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องคลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก
โรงเรียนก็จะบีบผู้เรียนออกมาสู่โลกภายนอกที่มีสภาพทางสังคมที่มีความแตกต่างกันไป
แต่สิ่งที่หนีไม่พ้นก็คือ การที่จะต้องเจอกับการขัดเกลาทางสังคมอีก
ทั้งๆที่ก็ผ่านมาในระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนก็ผ่านการขัดเกลามาอย่างยาวนานแต่ยังไม่พอสำหรับชีวิตภายนอกอยู่ดี
เช่น การรับน้องในมหาวิทยาลัย รับน้องโรงเรียนก่อนเข้ามหาวิทยาลัย รับน้องจังหวัด
รับน้องภายในกลุ่มองค์กรต่างๆ อย่างไร้เหตุผล ไร้ความเป็นมนุษยธรรม และไร้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ซึ่งสุดท้ายแล้วกระบวนการความสัมพันธ์ของการตั้งครรภ์ก็เป็นแบบเดิม คือ
การผลิตซ้ำออกมาแล้วก็วนเวียนซ้ำๆ จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ขึ้นมาอย่างไม่รู้จบ
แล้วเมื่อไหร่มันถึงจะจบ?