Peter McLaren ว่าด้วยการศึกษาเชิงวิพากษ์ : 4 ข้อท้าทายของครูรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21

Peter McLaren ว่าด้วยการศึกษาเชิงวิพากษ์ : 4 ข้อท้าทายของครูรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21


อรรพล ประภาสโนบล

หากกล่าวถึงข้อท้ายของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 หลากคนนึกถึงการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนลุกขึ้นมาแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมความหลากหลายในการเรียนรู้ และให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน จากข้อท้าทายดังกล่าวทำให้แวดวงของครูไทยพากันตื่นตัว แต่ Peter McLaren นักการศึกษาเชิงวิพากษ์สายอเมริกัน ได้ชวนให้นักการศึกษาและครูเห็นถึงข้อท้าทายผ่านมุมมองการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical Pedagogy) ที่จะพาชวนตระหนักคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้ 

1. ครูและนักการศึกษาควรชี้ให้เห็นว่าสังคมปัจจุบันกำลังอยู่ภายใต้การครอบครองทางความคิดชนิดใด ท้าทายวิธีคิดปัจจุบัน และมองเห็นว่าวิธีคิดเหล่านั้นเข้ามาสู่ระบบโรงเรียนจนเกิดเป็นวัฒนธรรมหลักได้อย่างไร และวัฒนธรรมหลักกำลังทำให้เสียงของกลุ่มอภิสิทธิ์มีความชอบธรรมมากกว่าเสียงของผู้ด้อยโอกาส 

2. 
ครูและนักการศึกษาควรเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนท้องถิ่นและคำนึงถึงบริบทเสมอ (แต่ไม่ใช่มีลักษณะท้องถิ่นจนเกินเหตุ) และต้องเป็นพวกต่อต้านการเหยียดผิว ต่อต้านการมีคติทางเพศ และการกีดกันทางเชื้อชาติ 

3. 
ครูและนักการศึกษาต้องพูดความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่พูดบนฐานชีววิทยา ทั้งนี้ปัญหาความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์มาจากการกีดกันและการกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างไม่ธรรม การพูดเพียงด้านชีววิทยาจะทำให้ปัญหาเชื้อชาติ การขูดรีดทางชนชั้น หรือการปกครอง ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหา ที่สำคัญควรมองเห็นว่าระบบทุนจะผูกขาดความการกระจายทรัพยากรอย่างไร 

4. ทางออกที่ควรกระทำของครูและนักการศึกษาคือการลงมือค้นหาวิธีการสื่อสารกัน เพื่อทำให้สามารถเป็นตัวแทนเสมือนจริงของคนในหลากหลายกลุ่ม บูรณาการประสบการณ์ชีวิตกับการแสวงหาความรู้เพื่อคนด้อยโอกาส และที่สำคัญคือการเปลี่ยนจากนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นวัตถุ ให้มีลักษณะของความกล้าที่จะวิพากษ์ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง


สรุปความจาก ศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2551). สังคมศาสตร์การศึกษา. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

*ปรับปรุงถ้อยคำ 01/01/2018 12:16 p.m.