สรุป BOOK TALK ครั้งที่ 2 : การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต

เล่าเรื่องโดย ท็อปพลเรียน




จิฑฑุกฤษณมูรติ (JidduKrishnamurti)  เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญของอินเดีย เขาเกิดในครอบครัวที่นับถือศาสนาฮินดู ณ กฤษณะมูรติเป็นเด็กช่างฝัน หลงไหลชื่นชมความงามในธรรมชาติและเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ แต่กลับไม่ค่อยสนใจศึกษาเล่าเรียนในระบบ  เขามักจะสอบตกเสมอในวงเสวนาครั้งนี้ทางผู้เล่าได้นำเสนอประเด็นสำคัญไว้3 ประเด็นดังนี้

1.The Right  Kind of Education (การศึกษาที่ถูกต้อง)กฤษณะมูรติ มองสิ่งที่เราเรียกว่า การศึกษาทุกวันนี้ เป็นเรื่องของการสะสมข้อมูลและตำรา ซึ่งการศึกษาเช่นนี้ช่วยให้เราหนีจากตัวเองได้อย่างแนบเนียนในทรรศนะของเขา มองว่า การศึกษาไม่ได้หมายถึง  การตระเตรียมชีวิตบางช่วง      แต่เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมทั้งหมดของชีวิตมนุษย์ ขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่   มุ่งให้การศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่อาชีพการงาน ซึ่งในสภาวะเช่นนี้ ความดีงาม อาจไม่ผลิบานได้อย่างเต็มที่ การศึกษาแบบนี้จะทำให้ผู้คนใส่ใจแต่ความมั่นคงส่วนตน ไม่สนใจว่าคนอื่นๆจะเป็นอย่างไร ตราบใด   ที่ตนเองปลอดภัยอยู่แต่ถึงกระนั้น เขายอมรับว่าอาชีพและการประกอบวิชาชีพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบัน แต่การศึกษาจะต้องสร้างสมดุลในเนื้อหาวิชาการ และความรับผิดชอบต่อมนุษย์ชาติให้เกิดกับผู้เรียน การศึกษาในปัจจุบันนับว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะเน้นเทคนิคทางวิชาการมากเกินควร รังแต่จะทำให้เรามีจิตใจหยาบกระด้างอำมหิตมากขึ้น กลายเป็นต้นเหตุสงคราม   

การศึกษาที่ดีย่อมไม่ผูกพันกับแนวคิดหรืออุดมการณ์ใด การศึกษาที่ดีจริงจะช่วยให้บุคคลมีวุฒิภาวะแก่กล้าและเป็นอิสระซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าครูใช้วิธีบังคับซึ่งทำให้เด็กกลัว และเด็กเองก็จะเกิดความขัดแย้งในตัวเขาอย่างไม่สิ้นสุดดังนั้นแล้ว การศึกษาไม่ควรส่งเสริมให้บุคคลใดปฏิบัติตามอย่างคนส่วนใหญ่ในสังคมหรือทำอะไรตามๆกันโดยไม่ได้คิด แต่ควรช่วยให้เขาค้นพบคุณค่าที่แท้จริงด้วยการไตร่ตรองอย่างปราศจากอคติและรู้เท่าทันตนเอง

2.Parents and Teachers (พ่อแม่และครู)ในสภาพความเป็นจริงนั้น สติปัญญาของผู้ให้การศึกษาสำคัญยิ่งกว่าความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนใหม่ๆมากนักครูที่ดีจะต้องเข้าใจเด็กตามสภาพที่เขาเป็นอยู่จริงโดยไม่ปั้นแต่งให้เขาเป็นไปตามอุดมคติที่เราคิดว่าควรจะเป็นการจับเด็กมาใส่กรอบอุดมคติเท่ากับส่งเสริมให้เขายอมเชื่อฟังเรื่อยไป เด็กจะเกิดความกลัวอุดมคตินี่แหละเป็นตัวอุปสรรคที่ทำให้เราไม่เข้าใจเด็ก และทำให้เด็กไม่เข้าใจตัวเองยกตัวอย่างเช่น  ถ้าเด็ก  คนหนึ่งพูดปด จะมีประโยชน์อะไรถ้าครูมัวแต่จะชี้ให้เด็กเห็นอุดมคติของความสัตย์ เราควรจะค้นเหตุให้พบว่าทำไมเด็กจึงพูดปด

การให้รางวัลหรือลงโทษนั้นยิ่งส่งเสริมความเห็นแก่ตัว การทำอะไรโดยอ้างเอาสิ่งอื่นมาบังหน้า ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อประเทศชาติหรือพระเจ้าก็ตาม ย่อมทำให้เกิดความกลัวซึ่งความกลัว ไม่อาจเป็นรากฐานก่อเกิดการกระทำที่ถูกต้องได้เลย ถ้าเราอยากสอนให้เด็กรู้จักคำนึงถึงคนอื่น ก็อย่าใช้ความรักเป็นสินบน แต่จงอดทนอธิบายวิธีการคิดพิจารณาแง่มุมต่างๆเด็กจะไม่รู้จักเคารพผู้อื่นเลย ถ้าเราใช้รางวัลเป็นเครื่องล่อใจ เพราะเด็กจะไพล่คิดว่าสินบนหรือการลงโทษสำคัญยิ่งกว่าความรู้สึกเคารพนับถือพ่อแม่ที่อยากจะเข้าใจลูกของตนจริงๆ จะไม่มองลูกผ่านม่านอุดมคติใดๆเลย พ่อแม่ที่รักลูกจะเฝ้าสังเกตลูก เรียนรู้ว่าลูกมีลักษณะอย่างไร ถ้าพ่อแม่บังคับลูกให้เป็นไปตามอุดมคติของตน ใช้ลูกเป็น   เครื่องมือทำให้ความทะเยอทะยานของตนสำเร็จ  คิดอยากให้ลูกเป็นนั่นเป็นนี่ ก็แปลว่า ไม่ได้รักลูกจริง   ดังนั้น ครูและพ่อแม่จะปลุกเร้าจิตใจเด็กให้ตื่นตัวใฝ่รู้รอบลึก       ใฝ่วิจารณ์อยู่เสมอได้ก็ด้วยวิธีเดียวคือ ส่งเสริมให้เด็กตั้งข้อสงสัยในหนังหนังสือที่อ่านหรือจะเป็นไรก็ตาม ที่ถือกันอยู่ในสังคม ว่ามันมีคุณค่าจริงหรือ

3.The School (โรงเรียน)กฤษณะมูรติ เห็นว่าโรงเรียน ประสบความล้มเหลวยิ่งเป็นสถาบันใหญ่โต ซึ่งกำลังขยายกิจการ มีท่าว่าจะประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ มีนักเรียนเป็นร้อยๆ ก็ยิ่งผลิตได้แต่คนเก่งมีความรู้แต่สนใจชีวิตเพียงเปลือกนอกการสร้างสถาบันที่ใหญ่โตและจ้างครูที่ยึดติดระบบแทนที่จะเป็นคนมีจิตใจที่ตื่นตัว ก็ยิ่งแสดงชัดว่าเราเพียงแต่ส่งเสริม การสะสมข้อเท็จจริง พัฒนาประสิทธิภาพและสร้างนิสัยการตอบสนองโดยไม่รู้จักคิดการสอนคนคราวละมากๆ ไม่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างค่านิยมพื้นฐานอะไรได้เลย ต้องค่อยๆศึกษาทำความเข้าใจปัญหา ความสามารถของเด็กเป็นรายคนจึงจะได้ผลถ้าเรายังถือว่าสถาบันสำคัญที่สุด เราก็จะไม่เห็นเด็กสำคัญ ครูดีจะให้ความสำคัญกับเด็กแต่ละคน มิใช่คิดถึงแต่ปริมาณเด็กในชั้น