สรุป BOOK TALK ครั้งที่ 3 : เด็กน้อยโตเข้าหาแสง




เล่าเรื่องโดย พล พลเรียน

- ป้ามล หรือ ทิชา ณ นคร เป็นผู้อำนวยการบ้านกาญจนาภิเษก การเข้ามาเข้าป้ามลในที่แห่งนี้ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวิธีคิดและแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กที่สังคมเรียกว่า เด็กดื้อ ให้กลายเป็น เด็กที่กลับมายืนหยัดความเป็นมนุษย์ได้ในสังคม ในการนำเสนอวันนี้ ผู้นำเสนอได้นำเสนอประเด็นไว้ดังต่อไปนี้

1.คุณอำนาจ vs คุณอำนวย  ในช่วงแรกที่ป้าเข้ามาใหม่ บ้านแห่งนี้เต็มไปด้วย คุณอำนาจ  การเป็นคุณอำนาจมันได้สร้างความสัมพันธ์แบบแนวดิ่งระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้ตกอยู่ภายใต้อำนาจ  ซึ่งจะส่งผลต่อความอึดอึดและปิดช่องทางการสื่อสาร เป้าหมายของป้ามลจึงต้องการเปลี่ยนให้คุณอำนาจกลายเป็น คุณอำนวยต้องสร้างผู้ใหญ่ที่รับฟังเด็ก ให้เกียรติเด็ก ป้าจึงประกาศแนวคิดเบื้องต้นว่า     บ้านกาญจนาฯ ไม่ใช่คุก เยาวชนไม่ใช่นักโทษ เจ้าหน้าที่ไม่ใช่ผู้คุม และบ้านนี้ไม่มีรั้ว แต่สิ่งที่จะทำให้เด็กไม่หนีคือความเชื่อใจ

2.เด็กมีความแตกต่างโดยธรรมชาติ เด็กที่เข้ามาอยู่ในบ้านแห่งนี้คือผู้แพ้จากการศึกษากระแสหลัก  ให้คุณค่ากับคนก่งหรือบุคคลสอบเข้ามหาลัยได้ แต่โรงเรียนกลับไม่เคยยกย่องผู้ที่ประสบผลสำเร็จในนอกระบบบ้าง รัฐทุมทุนกับการศึกษาเพื่อสร้างคนเก่ง แล้วทิ้งให้เด็กจำนวนมากกมาย ป้าเชื่อว่าเด็กคนหนึ่งไม่ได้เก่งไปทุกเรื่องหรือโง่ไปเสียหมด แต่เราต้องหาสิ่งที่เขาทำได้ดี แล้วส่งเสริม เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าเด็กคนใดดีกว่ากัน เพราะเด็กนั้นมีความหลากหลาย และครูจะต้องทำให้ห้องเรียนเอื้อต่อโอกาสพัฒนาศักยภาพ

3.วินัยวัดกันที่ไหน   การปล่อยให้เด็กๆใช้ดุลยพินิจในการแต่งตัวตัวเอง การแต่งชุดนักโทษ ตัดผมเกรียน คือการประกาศความเป็นนักโทษเวลาออกไปข้างนอก ยิ่งสร้างความอับอาย ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ ระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องวัดผ่านเสื้อผ้าหน้าผม  วินัยจึงกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเชื่องเสียจนหมดความคิดของตัวเอง  ป้าตั้งคำถามว่า เราสามารถวัดความเป็นเด็กดี โดยไม่ต้องก้มลงกราบได้หรือไม่

4.ขจัดร้าย ไม่ใช่ขยายร้าย  เวลาผู้ใหญ่มองเด็ก ไม่ว่าเด็กจะมีด้านสว่างอยู่มากเพียงใด  แต่จุดสีดำหรือความผิดเล็กๆน้อยๆ มักเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่เอาผิดกับเด็กเสมอ  การมองแต่ภาพลบ เท่ากับเป็นการตอกย้ำตีตราเขา ในทรรศนะของป้ามองว่า คนที่ประสบผลสำเร็จ ส่วนใหญ่เพราะผู้ใหญ่เล่นด้านดีกับเขามาตลอด ทำให้ด้านสว่างเจริญงอกงาม  และคำพูดของพ่อแม่และครูจึงมีส่วนสำคัญในการส่งสารถึงลูก การผลิตซ้ำในด้านมืดเขาก็จะสาปตัวเอง กฎระเบียบหล่อหลอมให้ครูเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจับผิด และทำให้เด็กท้อกับการไปโรงเรียน  และท้ายสุดโรงเรียนก็ไม่น่าศรัทธา ความจริงสำหรับผู้ใหญ่ ยิ่งเราไม่ใช้อำนาจ เรายิ่งมีอำนาจ ยิ่งเราให้เกียรติเขา เขาก็ยิ่งเกรงใจเรา  การลงโทษของโรงเรียนไม่ได้ทำเพื่อแก้ปัญหา แต่ลงโทษเพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงเรียนมากกว่า การขัดจัดร้ายไม่ใช้การปล่อยด้านร้ายลอยนวล ไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่รับผลจากกระทำ แต่เราต้องลงโทษผ่านกติกาที่เด็กมีส่วนร่วมสร้างขึ้น เมื่อนั้นเขาจะสำนึกผิด และยอมรับผลของมัน

5.ขยายดี ไม่สลายดี  เด็กมีสองด้าน ผู้ใหญ่ต้องหาด้านสว่างของเด็กให้เจอ และขยายมัน  หากเราหาด้านดีของเด็กไม่เจอ เราควรสร้างสถานการณ์ที่บังคับให้ความดีของเผยออกมา  การออกแบบกิจกรรมดังกล่าว ต้องทำให้เด็กอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยตัวเองเสียก่อน มิเช่นนั้นแล้วเท่ากับ จิตบังคับ  เหตุการณ์ของความทุกข์โศกเป็นตัวสร้างการมีส่วนร่วม ปลุกความสนใจในชีวิตคนอื่น และมันจะทำให้เขาฟื้นฟูความเป็นมนุษย์ และกลับไปจูนกับกระแสของสังคม