ฟิวส์ พลเรียน
“ภาพยนตร์ The Class” เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนช่วงภาคเรียนหนึ่ง เหตุการณ์ในเรื่องล้วนสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ภายหลังการรับชมภาพยนตร์ดังกล่าว กลุ่มของพวกเราได้สะท้อน “การศึกษาไทยผ่านภาพยนตร์ The class” ไว้ 4 ประเด็นดังต่อไปนี้ฃ
1. ความหลากหลายในชั้นเรียน นอกจากในชั้นเรียนเต็มไปด้วยนักเรียนที่มีความสามารถที่ต่างกัน ในส่วนของวัฒนธรรมเชื้อชาติยังเป็นสิ่งมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่ทว่าการศึกษาไทยที่ผ่านมาพยามจะบิดความแตกต่างให้กลายเป็นเส้นตรงที่คงความเหมือนเอาไว้ ความสามารถบางอย่างไม่ได้รับการพัฒนา วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกเปลี่ยนให้เป็นวัฒนธรรมจากส่วนกลาง เราจะสร้างห้องเรียนให้คำนึงความหลากหลายได้อย่างไร
2. ระเบียบวินัย กลายเป็นอาวุธหนักของการควบคุมนักเรียน ดังที่แสดงออกมาในภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นการจะลุกขึ้นหรือนั่งลงในระหว่างเรียน ที่จำเป็นต้องขออนุญาต และที่สำคัญโรงเรียนยังสร้างระบบตัดคะแนนขึ้น เพื่อกำหนดระดับลงโทษของนักเรียนซึ่งไม่แตกต่างจากโรงเรียนของไทย จึงเป็นคำถามที่สำคัญว่าการทำเช่นนั้นเป็นผลดีต่อนักเรียนหรือไม่
3. การใช้ความรุนแรงในห้องเรียน ในภาพยนตร์ในหลายๆเหตุการณ์มีฉากตอบโต้กันด้วยถ้อยคำรุนแรงระหว่างครูกับนักเรียน ในขณะที่ครูใช้ถ้อยคำรุนแรง ได้ยกความเป็นครูมาอ้างความชอบธรรมในการใช้ถ้อยคำดังกล่าว ในส่วนของนักเรียนอ้างว่าตนมีสิทธิที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง เพราะครูได้ใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อตน ถ้อยคำรุนแรงจึงเป็นสิ่งที่ครูผูกขาด ? และนักเรียนเหมาะสมที่จะใช้ถ้อยคำที่รุนแรงหรือไม่
4. ภาพลักษณ์ของครู ถึงแม้ภาพลักษณ์ของครูจะไม่ใช่สาระสำคัญของเรื่อง แต่ในฉากหนึ่งกลับพบว่า ครูนั่งสูบบุหรี่ในโรงเรียน ฉากดังกล่าวจึงสะท้อนด้วยคำถามที่ว่า ครูต้องมีภาพลักษณ์ที่เรียบร้อยและรักสุขภาพเสมอไปหรือไม่ ภาพลักษณ์ของครูควรเป็นอย่างไร
1. ความหลากหลายในชั้นเรียน นอกจากในชั้นเรียนเต็มไปด้วยนักเรียนที่มีความสามารถที่ต่างกัน ในส่วนของวัฒนธรรมเชื้อชาติยังเป็นสิ่งมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่ทว่าการศึกษาไทยที่ผ่านมาพยามจะบิดความแตกต่างให้กลายเป็นเส้นตรงที่คงความเหมือนเอาไว้ ความสามารถบางอย่างไม่ได้รับการพัฒนา วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกเปลี่ยนให้เป็นวัฒนธรรมจากส่วนกลาง เราจะสร้างห้องเรียนให้คำนึงความหลากหลายได้อย่างไร
2. ระเบียบวินัย กลายเป็นอาวุธหนักของการควบคุมนักเรียน ดังที่แสดงออกมาในภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นการจะลุกขึ้นหรือนั่งลงในระหว่างเรียน ที่จำเป็นต้องขออนุญาต และที่สำคัญโรงเรียนยังสร้างระบบตัดคะแนนขึ้น เพื่อกำหนดระดับลงโทษของนักเรียนซึ่งไม่แตกต่างจากโรงเรียนของไทย จึงเป็นคำถามที่สำคัญว่าการทำเช่นนั้นเป็นผลดีต่อนักเรียนหรือไม่
3. การใช้ความรุนแรงในห้องเรียน ในภาพยนตร์ในหลายๆเหตุการณ์มีฉากตอบโต้กันด้วยถ้อยคำรุนแรงระหว่างครูกับนักเรียน ในขณะที่ครูใช้ถ้อยคำรุนแรง ได้ยกความเป็นครูมาอ้างความชอบธรรมในการใช้ถ้อยคำดังกล่าว ในส่วนของนักเรียนอ้างว่าตนมีสิทธิที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง เพราะครูได้ใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อตน ถ้อยคำรุนแรงจึงเป็นสิ่งที่ครูผูกขาด ? และนักเรียนเหมาะสมที่จะใช้ถ้อยคำที่รุนแรงหรือไม่
4. ภาพลักษณ์ของครู ถึงแม้ภาพลักษณ์ของครูจะไม่ใช่สาระสำคัญของเรื่อง แต่ในฉากหนึ่งกลับพบว่า ครูนั่งสูบบุหรี่ในโรงเรียน ฉากดังกล่าวจึงสะท้อนด้วยคำถามที่ว่า ครูต้องมีภาพลักษณ์ที่เรียบร้อยและรักสุขภาพเสมอไปหรือไม่ ภาพลักษณ์ของครูควรเป็นอย่างไร