นิวส์ พลเรียน (พีระศิน ไชยศร) ได้นำเสนอบทความในหัวข้อ องค์กรนักเรียน: จำลองประชาธิปไตยในโรงเรียน โดยเขาได้ชี้ให้เห็นว่าการสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนที่กระทำอยู่นั้นได้ทำให้ครูเป็นผู้กำกับและนักเรียนเป็นผู้แสดง โดยครูเป็นผู้จัดให้นักเรียนต้องแสดงบทบาทประชาธิปไตยขึ้นในโรงเรียน โรงเรียนในความเห็นจึงเป็นสถานที่จำลองประชาธิปไตย แต่ทว่าสิ่งที่กำลังจำลองนั้นกลับเป็นเพียงรูปแบบที่ไร้รูปแบบ หรือ “เป็นแค่เปลือกประชาธิปไตย” กล่าวคือ นักเรียนกลับไม่มีอำนาจในการดำเนินการ หรือ ขาดการมีส่วนร่วม นอกจากนี้รูปแบบองค์กรที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยที่สร้างขึ้นกลับเต็มด้วยการแบ่งชนชั้นระหว่างนักเรียน เช่น นักเรียนที่เป็นสภานักเรียนจะถูกจัดเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งในโรงเรียน อีกทั้งสภานักเรียนเหล่นี้ยังต้องกลายเป็นผู้ใช้แรงงานให้แก่โรงเรียน จากตรงนี้เขาได้ชี้ให้เห็นว่า องค์กรนักเรียนถูกควบคุมด้วยครูอีกที ด้วยเหตุนี้เขาได้เสนอทางออกของการจัดตั้งองค์กรนักเรียนที่ควรล้อไปกับรูปแบบของการเมืองในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบรัฐสภา หรือรูปแบบประธานาธิบดี ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของนักเรียน และเป้าหมายของการจัดตั้งขึ้น ท้ายสุดการสร้างองค์กรนักเรียนที่เป็นประชาธิปไตย จะนำไปสู่การเรียนรู้หรือกลายเป็นพื้นฐานให้เข้าใจการเมืองในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ
ภายหลังการนำเสนอทความ สมาชิกภายในกลุ่มได้ร่วมกันแลกเปลียนประเด็นดังกล่าว ซึ่งสรุปได้ว่าโครงสร้างการบริหารองค์กรนักเรียนทำให้นักเรียนไม่มีอำนาในการตัดสินใจอย่างแท้จริงด้วยตนเอง นอกจากนี้ควรให้นักเรียนได้เห็นถึงความสำคัญของประชาธิปไตย โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่สำคัญครูต้องเป็นแบบอย่างในการสร้างวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย และควรมีการสร้างธรรมนูญโรงเรียนในการกำหนดความสัมพันธ์ระหวางคณุกับนักเรียนให้มีความชัดเจน