ว่าด้วยเรื่อง STEM Education And Social Studies ความสัมพันธ์ที่ยากที่จะตัดขาด

ว่าด้วยเรื่อง STEM Education And Social Studies ความสัมพันธ์ที่ยากที่จะตัดขาด 

ธีรพงษ์ ภักดีสาร

“หากคิดแต่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ขาดการศึกษาปัญหา ศึกษาวัฒนธรรม ศึกษาความต้องการของผู้คน ขาดจิตสำนึกด้านจริยธรรม จะสร้างนวัตกรรมใหม่เป็นพันเป็นล้านแบบโลกนี้ก็ไม่อาจจะพัฒนาได้อย่างแท้จริง”

แนวคิด STEM Education มีจุดเริ่มต้นมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณปี 1990 เขาพบว่าจำนวนนักวิทยาศาาสตร์ ผู้คนในประเทศเริ่มสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลดลง นวัตกรรมทางเทคโนโลยีซึ่งตนเคยเป็นผู้นำก็ไม่สามารถเป็นได้ดังที่เคยเป็นมา ในขณะที่ หลายๆ ประเทศทั่วโลกมีความก้าวหน้าไปมาก อีกทั้งพบว่า ผล การทดสอบ โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Program for International Student Assessment หรือ PISA) และ ทดสอบด้านคณิตวิทยาศาสตร์ระดับสากล (Trends in International Mathematics and Science Study หรือ TIMSS) ของสหรัฐอเมริกานั้นต่ำกว่าหลายประเทศ คะแนน วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความถดถอยของการจัดการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2003 รวมทั้งรายงานของ Phi Delta Kappan ที่ประเมินว่านักเรียนอเมริกันทำคะแนนได้ต่ำที่สุดในการโจทย์แก้ปัญหา (Bellanca & Brandt, 2010; Dejarnette, 2012) 

จากปรากฏการข้างต้น องค์กรที่มีชื่อว่า American Association for The Advancement of Science (AAAS) ได้เสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษาโดยมีชื่อโครงการว่าโครงการ 2061 และได้เสนอแนวคิดในการจัดการศึกษาแบบ STEM Education ซึ่งแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียนในระดับชั้นก่อนประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัยที่มุงเน้นการสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนโดยนำเอาความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความเยื่อมโยงของศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอีกทั้งยังเป็นการพัฒนาให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ข้ามศาสตร์ เกิดทักษะในการวิเคราะห์ คิดแก้ไขปัญหา สามารถประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้ที่เกิดขึ้นในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ สอดคล้องกับการส่งเสริมการพัฒนาทักษะสำคัญในโลกโลกาภิวัตน์หรือทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อีกด้วย (Dejarnette, 2012; Wayne. 2012;Breiner, Harkness, Johnson, & Koehler, 2012) นโยบายการศึกษาแบบ STEM Education จึงถูกมองว่าเป็นแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพของการศึกษาคุณภาพประชากรที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอเมริกาได้ อีกทั้งยังคาดหวังว่าจะช่วยยกระดับผลการทดสอบ PISA ของนักเรียนชาวอเมริกาให้สูงขึ้นอีกด้วย (Rachel, 2008) ดังนั้น STEM Education จึงถูกกำหนดให้เป็นนโยบายการศึกษาของอเมริกาตั้งประมาณ 1998 เป็นต้นมา 


ทั้งนี้ในหลักสูตร STEM Education ที่จัดทำโดย American Association for The Advancement of Science (AAAS) ได้ระบุไว้ในช่วงหนึ่งว่าการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไม่สามารถเน้นแต่การสร้างให้นักเรียนเชี่ยวชาญแต่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านการจัดการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียวได้แต่ต้องมีการบูรณาการศาสตร์ด้านอื่น ๆ (AAAS, 1998) เพราะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ และสิ่งเหล่านี้จะถูกทำให้เป็นกลายเป็นโครงสร้างของสังคมต่อไป(AAAS 1990, p. 8) ดังนั้นการเชื่อมโยงของ STEM Educationกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ จึงต้องเชื่อมโยงกันเพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ทั่วโลกมีความเห็นร่วมกัน (Baltimore, Science 319, 697 (2008) and Wagner’s comments) หนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการบูรณา STEM Education กับสังคมศึกษา คืองานวิจัยที่มีชื่อว่า “The Tragedy of the Commons” ของ Garrett Hardin เมื่อปี 1986 ปรับปรุง 2006 เข้าพบว่า ปัญหาประชากรไม่สามารถใช้การแก้ไขปัญหาทางเทคนิคได้เพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีพื้นฐานความเข้าใจทางจริยธรรมเข้ามาใช้ประกอบการแก้ไขปัญหาการแก้ปัญหาจึงจะสำเร็จ (The population problem has no technical solution; it requires a fundamental extension in morality.) 


ซึ่งสอดคล้องกับบทความเรื่อง Social Studies :The original STEM ของ Lawrence Paska คณะกรรมธิการใน The National Council for the Social Studies แห่ง สหรัฐอเมริกา ลงในเว็ยไซต์ National Council for the Social Studies กล่าวว่า STEM Education เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมวิทยาศาสตร์ศาสตร์เทคโนโลยีแทบจะทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เขามองว่าเป็นเพียงการศึกษาโลกทางกายภาพ (The physical world) แต่ในขณะเดียวกันไม่ได้พูดถึงโลกที่ถูกมนุษย์สร้างหรือเป็นผู้กระทำ (the human-made world) ทั้งบริบทของสังคม วัฒนธรรม ประเพณี กฏหมาย คุณค่า ค่านิยมที่คนในสังคมยึดถือซึ่งมีความสัมพันธ์โดยการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดยเราจะสามรถเข้าใจประเด็นต่าง ๆเหล่านี้ได้เราจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแบบการจัดการเรียนรู้ของสังคมศึกษาซึ่งเป็นศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อที่จะค้นหาคำตอบอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีกระบวนการในการหาข้อเท็จจริงและพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามแนวทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน  


จากข้อความข้างต้นชี้ให้เห็นว่า STEM Education และสังคมศึกษานั้นมีลักษณะของการบูรณาการความรู้ด้านต่าง ๆ มาใช้เพื่อทำความใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา  


Paska จึงเสนอว่า การเชื่อมโยงสังคมศึกษาเข้ากับ STEM Education นั้นเป็นเชื่องโยงบูรณาการความรู้อย่างมีความหมาย และจะทำให้การสร้างนวัตนกรรมในอนาคตสามารถตอบสนองความต้องการแก้ไขปัญหาของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ 


ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า STEMSS (STEM Education and Social Studies) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาบูรณาการแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและแนวคิดทางสังคมศึกษา เพื่อสร้างทักษะการของนักวิทยาศาสตร์ ที่เข้าใจและใส่ใจสังคม และสามารถสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน


ที่มา

- พรทิพย์ ศิริภัทราชัย (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารไทยบริหาร ปีที่ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2556.
- Lawrence Paska (2560) . Social Studies: The Original STEM online https://www.socialstudies.org/getting-social/social-studies-original-stem.
- AAAS Project 2061. Science for All Americans Education for a changing future. online http://www.project2061.org/publications/sfaa/

ภาพประกอบจาก 
https://sites.google.com/a/ohlsd.org/dulles-grade-5/home/social-studies